บริบทหมู่บ้าน

1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน

บ้านปรือคันตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 300 กว่าปี เดิมเป็นป่าทึบมีแรดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คำว่า “แรด” ภาษเขมราเรียกว่า “ระเมียะ” ในภาษาส่วยมีความหมายว่า “คัน” ต่อมาเพี้ยนเป็นคำที่ตรงกับภาษาไทยว่า “ป่า” ภาษาเขมรเรียกว่า “ไปรท์”ฉะนั้นจึงเรียกกันว่า “ปรือคัน” โดยเล่าสืบกันมาว่า มีนายวงษ์และนางขัน และลูกหลานมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัวรุ่นแรกๆ และมีนายปรัก นางอาว ตามมาเป็นลำดับ ลูกบ้านที่มาอยู่อาศัยใช้นามสกุลตามหัวหน้า คือ วงษ์ขันธ์ และ ปรือปรัก

2.คำขวัญประจำบ้านปรือคันตะวันออก
ปรือคันแดนป่าแรดเก่า        ชนเผ่าส่วย
ร่ำรวยเรื่องน้ำใจ                       ผ้าไหมงาม
เลิศล้ำวัฒนธรรมเด่น                   เน้นความสามัคคี

วิสัยทัศน์บ้านปรือคันตะวันออก
สร้างสรรค์สังคม ชุมชนสามัคคี
สืบสานประเพณี สร้างคนดีเพื่อปรือคัน

พันธกิจบ้านปรือคันตะวันออก
1.มุ่งมั่นพัฒนา ชาวประชาอยู่ดีมีสุข
2.ลดรายจ่าย เสริมสร้างรายได้
3.สร้างชุมชนเข้มแข็ง สามัคคี
4.สร้างชุมชน สังคม คุณธรรม
5.สร้างความเข้มแข็งทางด้านร่างกาย และจิตใจแก่เด็ก เยาวชนในหมู่บ้าน
6.สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
7.สร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งในชุมชน
8.ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

3.จำนวนครัวเรือน     114    ครัวเรือน
ประชากร              596    คน
ชาย                    286    คน
หญิง                   310    คน

4.อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ       ติดต่อกับ       ตำบลห้วยใต้
ทิศใต้          ติดต่อกับ       บ้านหนองสิม หมู่ที่ 19 ต.ปรือใหญ่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ       ตำบลนิคมพัฒนา
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ       หมู่ที่ 7 ตำบลปรือใหญ่

5.ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่บ้านปรือคันตะวันออก เป็นพื้นที่ราบ สลับกันที่ดอน เหมาะสำหรับปลูกข้าว และพืชสวน พืชไร่ ทำนาได้ปละ 2 ครั้ง มีคอลชลประทาน อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ห้วยปรือคัน ห้วยศาลา และหนองกุดสันดัน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน


6.อาชีพ
อาชีพหลัก คือทำการเกษตร
อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และทอผ้า

พื้นที่ทั้งหมด           1135          ไร่
พื้นที่การเกษตร        1093 ไร่
แยกเป็นปลูกข้าว       767    ไร่
มันสำปะหลัง           142    ไร่
ไม้ผล                   64     ไร่
ยางพารา              112    ไร่
ที่อยู่อาศัย              42     ไร่
ที่สาธารณะ            8       ไร่
นอกนั้นปลูกนอกเขตพื้นที่ตำบลปรือใหญ่

7.ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ
ศาสนสถาน  วัดปรือคัน

8.ข้อมูลทั่วไป

มีพื้นที่ทั้งหมด 1135 ไร่
ใช้ทำการเกษตร                        1093         ไร่
กลุ่มเศรษฐกิจ
กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน 5 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิด            จำนวน 1 กลุ่ม
การพาณิชย์
ร้านค้าชุมชน 1 แห่ง
ร้านค้า 2 แห่ง
แหล่งประชาสัมพันธ์
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
หอกระจ่ายข่าว 1 แห่ง
โรงสี 3 แห่ง
ประปา
ประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง
ยานพาหนะ
รถยนต์ จำนวน 30 คัน
รถจักรยานยนต์ 121 คัน
เครื่องยนต์การเกษตร
รถไถนาเดินตาม 67 คัน
รถไถใหญ่  9 คัน
รถเกี่ยวข้าว 1 คัน

9 การปกครอง
บ้านปรือคันตะวันออก หมู่ที่ 5 ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
การปกครอง
นายเจริญ ปรือปรัก ดำรงตำแหน่ง     ผู้ใหญ่บ้าน
นายสมนึก ธรรมสิงห์                     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสมัย บุญขาว                         ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสุพิษ วงษ์ขันธ์                        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

การปกครองท้องถิ่น
นายบุญลอย วงษ์ขันธ์          สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายสุเยียน ปรือปรัก           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

10 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน
ครัวเรือนมีรายได้สูงกว่า 32,000 บาทต่อปี ต่อคน จำนวน 114 ครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยของประชากรของหมู่บ้าน จำนวน 58,000 บาทต่อคนต่อปี
ครัวเรือนผ่านการฝึกอบรมร้อยละ 85 ของครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และสิ่งทอ

11.ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของชุมชน
ชื่อสินค้า                       กลุ่ม/องค์กร                    ตัวแทนผลิต
ผ้าไหมมัดหมี่                  กลุ่มแม่บ้าน                     นางชงค์ วงษ์ขันธ์
พันธ์ุข้าว                       กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ   นายเจริญ ปรือปรัก
ไม้ผล                           มะม่วงพันธุ์ดี                    นายสมัย บุญขาว
ยางพารา                      กลุ่มยางพารา                   นายสมนึก ธรรมสิงห์


12.ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน
หมอพื้นบ้าน รักษาผู้ป่วย       พ่อสุรินทร์ สุดสังข์
จัดพิธีกรรม                       พ่อศรีเมือง วงษ์ขันธ์
พ่อพราหมณ์                      พ่อเหลื่อม ปรือปรัก
พ่อพราหมณ์พิธีศาสนา         พ่อสวัสดิ์ วงษ์ขันธ์

13สถานที่ท่องเที่ยว
สถานีเพาะพันธ์สัตว์ป่าจุฬาภรณ์
วัดปรือคันเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์

14.การคมนาคม
บ้านปรือคันตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ระยะทาง 11 กิโลเมตร
เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2,017 เป็นถนนลาดยาง ใช้เวลาเดินทางจากชุมชนสู่อำเภอใช้เวลาประมาณ 15 นาที

15.ประเพณี/เทศกาลประจำปี
- ประเพณีแซนโฎนตา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือน 10 เพื่อระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปให้ได้รับผลบุญที่ลูกหลานอุทิศให้
- ประเพณีรำแม่มด เป็นการจัดพิธีร่างทรง การรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามความเชื่อ
- ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
- ประเพณีรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์
- ประเพณีลอยกระทง
- ประเพณีเซ่น ปู่ตา กุดสันดัน


โครงสร้างผู้นำชุมชน

ผู้ใหญ่บ้าน                                     นายเจริญ ปรือปรัก
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                               นายสมนึก ธรรมสิงห์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                               นายสมัย บุญขาว
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ           นายสุพิษ วงษ์ขันธ์
สมาชิกสภา อบต.                              นายบุญลอย วงษ์ขันธ์
สมาชิกสภา อบต.                              นายสุเยียน ปรือปรัก

รายชื่ออาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
อพปร.
นายสุทน ปรือปรัง    
นายสุเยียน ปรือปรัก
 นายเชือน วงษ์ขันธ์
นางปรินยาภรณ์ เหล่าหวาน
นายบุญลอย วงษ์ขันธ์
นายเจริญ ปรือปรัก
อสม.
นางขัน วงษ์ขันธ์
นายเจริญ ปรือปรัก
นายสุเยียน ปรือปรัก
นายบุญลอย วงษ์ขันธ์
นายสวัสดิ์ วงษ์ขันธ์
นายเหลื่อม ปรือปรัก
นายสุทน ปรือปรัง
นางสวิต ปรือปรัง
นางสงวน แพงอก
นางสุชาดา ธรรมสิงห์
นายเชือน วงษ์ขันธ์
นายพินิจ ลาคำ
กลุ่มสตรี
สมาชิกทั้ง หมด 15 ราย
นางชงค์ วงษ์ขันธ์              ประธาน
นางอำนวย ปรือปรัง           รองประธาน
นางสอน หาญพิทักษ์           เหรัญญิก
นางประภัสสร วงษ์ขันธ์        เลขา
อาสาเกษตร
นายวรเชษฐ์ ศรีสิงห์
อช.อาสาพัฒนาชุมชน
นายสันติ วงษ์ขันธ์
นางจรัสศรี หมู่มาก
นางประภัสสร วงษ์ขันธ์
นางสาวเบญจวรรณ ธรรมสิงห์
อาสาสมัคร พม.
นางจิรัชยา ตะเคียนราม
อาสาสมัครหมอดิน
นายสุทน ปรือปรัง
อาสาอื่นๆ
ชรบ.
นายเจริญ ปรือปรัก
นายสมัย บุญขาว
นายโยธิน สาทอน
นายสุวรรณ ตะเคียนราม
นายสุพต ปรือปรัง
นายนัย วงษ์ขันธ์
นายบุญส่ง รสหอม
นายสุดใจ รัตนพันธ์
นายพินิจ ลาคำ
นายฉลองชัย ปรือปรัง

นายเฉลียว ปรือปรัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น